วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : การบูรณาการแผนชุมชน โดย สายชล สุวรรถเชษฐ์

         ในการพัฒนาชุมชนนั้น สิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมี   คือ  แผนพัฒนาหมู่บ้าน  หรือแผนชุมชน  ฉะนั้น
แผนชุมชนต้องมีคุณภาพ  คือ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง  และแผนที่มีคุณภาพนั้นต้องมีขั้นตอน
 มีกระบวน การในการจัดทำแผนชุมชน   ซึ่งต้องทราบข้อมูลของหมู่บ้าน/ชุมชน  ว่ามีจุดอ่อน  จุดแข็ง  โอกาส  และอุปสรรคอะไรบ้าง    มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นอย่างไร   แผนชุมชนจะต้องสะท้อนถึงความต้องการ  ปัญหาของชุมชนได้อย่างละเอียด   สามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน  และเกิดจากคนในชุมชนที่รวมตัวกันจัดทำแผนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชน หรือท้องถิ่นของตนเอง ให้เป็นไปตามความต้องการ  สามารถแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ร่วมกันได้  โดยคนในชุมชนได้มาร่วมคิด ร่วมกำหนดแนวทาง และกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน  โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก  ด้วยการคำนึงถึงศักยภาพ  ทรัพยากร  ภูมิปัญญา วิถีชีวิต  วัฒนธรรม  และสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นหลัก
วิธีการดำเนินงาน
1. จัดเวทีบูรณาการแผนชุมชนในระดับตำบล  เพื่อนำเสนอแผนชุมชนของแต่ละหมู่บ้าน  และ
นำข้อมูลมาวิเคราะห์  เพื่อจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการ
๒.  คณะทำงานระดับตำบล จัดทำเอกสารแผนชุมชนบูรณาการระดับตำบล และส่งต่อแผนฯ ให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอำเภอฯ  เพื่อประสานการปฏิบัติต่อไป
๓.  ทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชนระดับตำบล  ร่วมกับ อปท.  ภาคีภาครัฐระดับตำบล  นำ
แผนงาน/โครงการที่สำคัญ สู่การปฏิบัติ  โดยมีแนวทางการประสานแผนที่ใช้หลักการด้านพื้นที่  ภารกิจ การมีส่วนร่วม  โดยกำหนดพื้นที่  เป้าหมายร่วมกัน  จัดลำดับความสำคัญของปัญหาเร่งด่วน ,  ปานกลาง,  หรือปกติ   และกำหนดเจ้าภาพ  หรือผู้รับผิดชอบพร้อมทั้งหน่วยงานที่สนับสนุน
บันทึกขุมความรู้  (Knowledge Assets)
1. แผนชุมชนที่มีคุณภาพ จะต้องมีขั้นตอน  มีกระบวนการของแผนชุมชน  และต้องคำนึงถึง
วิธีการได้มาของแผนชุมชน
๒.  ชุดปฏิบัติการระดับตำบล  ต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผนชุมชน   และ
กระบวนการแผนชุมชนอย่างชัดเจน
๓.  ต้องศึกษายุทธศาสตร์ของหน่วยงาน   ยุทธศาสตร์จังหวัด/อำเภอฯ   ยุทธศาสตร์ของแต่ละ
หน่วยงานในพื้นที่  เพื่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาตำบลให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด/อำเภอฯ
๔. การจัดเวทีบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล  โดยเน้นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในทุก
ขั้นตอน ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาสำคัญเร่งด่วนของชุมชน  เพื่อนำมาสู่ปัญหาเร่งด่วนของตำบล
๕. ต้องมีการประสานแผนการปฏิบัติ ในการกำหนดพื้นที่ภารกิจ และกำหนดเจ้าภาพหลัก และ
หน่วยงานสนับสนุน
แก่นความรู้  (Core Competency)  
                    ๑.  หัวใจการบูรณาการแผนชุมชน คือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงระหว่างท้องถิ่นกับท้องที่ต้องเป็นไปแนวทางเดียวกัน
๒. การจัดเวทีบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล  เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ใน
การเสนอปัญหาเร่งด่วน การวิเคราะห์ตำบล  การกำหนดแผนการในการพัฒนา  ตลอดจนการประสานแผนในการปฏิบัติร่วมกัน
๓. ส่งเสริมให้ อปท.  นำแผนบูรณาการระดับตำบล  เข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น  และผลักดันให้
นำไปพิจารณาเป็นข้อบัญญัติงบประมาณประจำปี
กลยุทธ์ในการทำงาน
๑. เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน พร้อมทั้งพัฒนาขีดความ
ความสามารถของคนในชุมชน ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน โดยใช้กระบวนการแผนชุมชนเป็นเครื่องมือ
2. การบูรณาการการทำงานกับภาคส่วนต่างๆ ได้แก่  ภาครัฐ  ภาคเอกชน  ภาคประชาสังคมและเครือข่ายองค์การชุมชน ในการบูรณาการแผนชุมชน  โดยกำหนดให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง
3.  การประสานเชื่อมโยงความต้องการของชุมชน ภายใต้แผนชุมชนกับแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนยุทธศาสตร์อำเภอและจังหวัดตามลำดับ
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
                ๑.  คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
                  ๒.  คู่มือแนวทางการรับรองมาตรฐานแผนชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย
๓.  คู่มือแนวทางการบูรณาการแผนชุมชน  กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย
ชื่อ – นามสกุล     นางสายชล  สุวรรณเชษฐ์
ตำแหน่ง            นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด            สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยุหะคีรี   จังหวัดนครสวรรค์
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก    ๐-๘๖๒๐๒๗๕๐๐ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น