วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : เศรษฐกิจพอเพียงสู่สัมมาชีพชุมชน โดยนางสาวนัฎธนา สัตย์กุศล

ชื่อเรื่อง                 เศรษฐกิจพอเพียงสู่สัมมาชีพชุมชน
ชื่อ – นามสกุล              นางสาวนัฎธนา  สัตย์กุศล
ตำแหน่ง                       เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
สังกัด                           สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
เนื้อเรื่อง
บ้านหนองตอ หมู่ที่ ๓ ตำบลหาดสูง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการคัดเลือกเพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามนโยบายรัฐบาลที่กำหนดให้ส่วนราชการ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ หน่วยงานพัฒนาชุมชน ได้รับมอบแนวนโยบายให้เป็นกลไกหลักในการสนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่ชุมชน ผ่านกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็น เป็นสุข โดยพัฒนากรผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ นำความรู้ทางวิชาการ รูปแบบ และวิธีการทำงานพัฒนาชุมชน สร้างกระบวนการเรียนรู้ในหมู่บ้านเป้าหมาย  ให้สามารถเป็นต้นแบบของการ นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจนเกิดผลเป็นรูปธรรม

การส่งเสริมสนับสนุนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสิ่งที่ก่อเกิดแนวทางการใช้วิถีแบบพอเพียงของคนในชุมชน ทำให้หลายคนได้รวมตัวกันเพื่อหันมาประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ จากเวลาที่ว่างจากการประกอบอาชีพหลัก จึงทำให้เกิดอาชีพขึ้นหลากหลาย เช่น การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงจิ้งหรีด ทำเห็ด ทำตะกร้าจักสานเชือกมหัศจรรย์ ทำน้ำพริกแกง เป็นต้น
ส่วนขยาย
กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน    
1.                  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มองค์กร และทีมงานปฏิบัติการระดับหมู่บ้านและตำบล ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๓๐ คน
2.                 คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มองค์กร และแกนนำ ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม        สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของหมู่บ้าน
 3.                 คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มองค์กร และแกนนำ ร่วมกันดำเนินกิจกรรมตามแผน
           โดยมีกิจกรรม ดังนี้
F การจัดระบบข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ข้อมูล จปฐ. ข้อมูล กชช.2 ค เป็นต้น
          F เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีการพัฒนา
          F ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในการจัดทำ/ติดตามผลการขับเคลื่อนแผนชุมชนให้มีคุณภาพ   โดยการเข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนแผนชุมชนของหมู่บ้าน/ตำบล เพื่อการพัฒนาที่ต้องตามความการของประชาชน
          F  ส่งเสริม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ โดยส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เช่น ส่งเสริมการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อบำรุงดิน การปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์     ในครัวเรือน การรวมกลุ่มทำอาชีพเสริมของกลุ่มสตรี การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP
         F  ส่งเสริมระดมทุนในกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สมาชิกและประชาชนภายในหมู่บ้าน ในอนาคตไม่ให้เกิดความเดือดร้อน และสามารถนำมาทุนในการในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้ด้วย
          F  ส่งเสริมการบูรณาการให้สมาชิกสามารถเข้าถึงแหล่งทุน กองทุนหมู่บ้าน (กทบ.) และกลุ่มอาชีพ เพื่อเป็นการลดภาระหนี้ระบบแก่สมาชิกกองทุนต่าง ๆ โดยการคิดดอกเบี้ยในราคาต่ำ กรณีที่สมาชิกมีปัญหาจะเป็นที่ปรึกษาให้กับสมาชิกทุกกองทุน โดยเน้นการเข้าถึงแหล่งทุนภายในหมู่บ้านก่อน เพื่อลดปัญหาหนี้นอกระบบ
           F ประชาสัมพันธ์งานตามนโยบายรัฐบาล/ข่าวสารทางราชการ เมื่อมีข้อราชการจากทางอำเภอ จะให้ตัวแทน ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้แก่สมาชิกและประชาชนทราบโดยทั่วถึงโดยผ่านหอกระจายข่าว หรือการประชุมประชาคมประจำเดือน
          F การสร้างพลังความเข็มแข็งของคณะกรรมการ ครัวเรือนต้นแบบ  เมื่อมีกิจกรรมต่าง ๆ  ได้ให้ความร่วมมือ  ในการแสดงเพื่อแสดงพลังความสามัคคี และความแข็งแข็ง

ส่วนสรุป ผลของการพัฒนา
1. คณะกรรมการหมู่บ้าน และองค์กรภาคี มีความเสียสละรับผิดชอบทั้งงานในหน้าที่และงานที่   เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่น   ตั้งใจจริง   ทุ่มเท  เสียสละแรงกาย แรงใจ  อย่างเต็มกำลังความสามารถโดยไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค์ใด ๆ   เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ วางไว้    มุ่งหวังประโยชน์สูงสุดของประชาชนและของทางราชการเป็นสำคัญ
2. การมีคุณธรรมและปฏิบัติตนตามวินัยทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ยึดถือระบบคุณธรรมเป็นหลักสำคัญในการดำรงตนและปฏิบัติงานในหน้าที่  ด้วยความเสมอภาคและเป็นกลางโดยไม่ลำเอียง ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งหมั่น  เรียนรู้ประสบการณ์ตรงด้วยตนเองทั้งการปฏิบัติ  การอ่าน  และ  การถามจากผู้รู้  เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของตนเองให้เกิดความชำนาญอยู่อย่างสม่ำเสมอ  สามารถนำไปใช้ในการตัดสินและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
          3. การร่วมมือของกลุ่มองค์กร ประชาชน และผู้นำ
4. การยึดมั่นในหลักศีลธรรมทางศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิตปฏิบัติ   ตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
5. การยึดแนวปฏิบัติในการทำงาน โดยยึดหลักความเสมอภาพ หลักสิทธิและเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน
ขุมความรู้
               ที่การสร้างแนวคิดจนทำให้เกิดการคิดร่วม เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่หากผ่านการเรียนรู้ถึงแนวทาง การเรียนรู้วิธีทำ เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหา เรียนรู้วิธีการปันประโยชน์ ก็จะทำให้เกิดเป็นความร่วมคิด ร่วมทำ  ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมรับประโยชน์ กลายเป็นความเข้มแข็งยั่งยืน
แก่นความรู้

               “ความสำเร็จเกิดได้เสมอ หากมีแรงพลังของความสามัคคี”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น