
ชื่อเรื่อง เทคนิคการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนให้พัฒนาเป็นกลุ่มอาชีพ OTOP
เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับ ปัญหารายได้ของประชาชน สนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ
ปี พ.ศ. 2560
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านพุนิมิต หมู่ที่ 4 ตำบลตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านพุนิมิต หมู่ที่ 4 ตำบลตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม
เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม
หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย
ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม
และพัฒนาอย่างเพียงพอ
ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง
และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้
แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร
ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง
ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน
แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้
สัมมาชีพ หมายถึง อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
เป็นความพยายามที่จะปรับจากการทำมาหากินเป็นทำมาค้าขาย
โดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย
และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือ ความสุขของตนและคนทำงาน
รวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภค และผู้รับบริการเป็นหลัก ซึ่งในปี 2559
ข้าพเจ้าได้เข้าขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน
ของบ้านพุนิมิต หมู่ที่ 4 ตำบลตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
โดยการสนับสนุนให้ปราชญ์ของชุมชนทำการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการผลิต
และกระบวนการผลิตของกล้วยฉาบปรุงรส ซึ่งมีการดำเนินงานอบรม จำนวน 5 วัน ประกอบด้วย
การเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตกล้วย การปลูกกล้วยให้ได้ผลดี
มีการนำครัวเรือนต้นแบบจำนวน 20 คน ศึกษาดูงาน ณ แหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาความรู้ในการประกอบสัมมาชีพของตนเอง
และการพัฒนาตนเองให้ดำรงชีวิตตามเศรษฐกิจพอเพียง และวันที่ 5 ของการอบรม
มีการสาธิตและปฏิบัติการทำกล้วยฉาบปรุงรส ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านพุนิมิต
หลังจากการดำเนินการอบรมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน
ครบทั้ง 5 วัน ได้ทำการติดตามหลังการอบรม และมีการประชุมครัวเรือนต้นแบบ 20 คน
พร้อมทั้งวิทยากรสัมมาชีพหมู่บ้าน 5 คน รวม 25 คน
ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานของกล้วยปรุงรส ซึ่งได้มีการเริ่มตั้งกลุ่มอาชีพชื่อ
กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านพุนิมิต ซึ่งได้คัดเลือกกรรมการบริหารกลุ่ม จำนวน 7 คน
และมีการระดมหุ้นจากสมาชิก หุ้นละ 20 บาท
เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มมีความเข้มแข็งและร่วมกันบริหารงาน โดยกลุ่มได้ติดต่อสถานที่จำหน่ายสินค้าของกลุ่มสัมมาชีพ
ไว้ที่ร้านอาหารในอำเภอ โดยได้รับการตอบรับจากลูกค้า ด้วยดี จึงได้ส่งเสริมให้กลุ่มสัมมาชีพบ้านพุนิมิต
ผลิตภัณฑ์ กล้วยฉาบปรุงรส เข้าร่วมลงทะเบียน OTOP ของอำเภอตากฟ้า
เพื่อพัฒนาต่อยอดการพัฒนาให้สินค้าให้มีคุณภาพต่อไป
บันทึกขุมความรู้
1. อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
เป็นความพยายามที่จะปรับจากการทำมาหากินเป็นทำมาค้าขาย
โดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม
2. สนับสนุนให้ปราชญ์ของชุมชนทำการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการผลิต และกระบวนการผลิตของกล้วยฉาบปรุงรส
2. สนับสนุนให้ปราชญ์ของชุมชนทำการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการผลิต และกระบวนการผลิตของกล้วยฉาบปรุงรส
3.การติดตามหลังการอบรม
และมีการประชุมครัวเรือนต้นแบบ 20 คน พร้อมทั้งวิทยากรสัมมาชีพหมู่บ้าน 5 คน รวม
25 คน ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงาน
แก่นความรู้
1. ปราชญ์ของชุมชนทำการถ่ายทอดความรู้
2. ติดตามผลการดำเนินอย่างต่อเนื่อง
3.
ส่งเสริมการพัฒนากลุ่มให้มีความเข้มแข็ง
กลยุทธ์ในการทำงาน
1.
จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพที่ได้ดำเนินการพร้อมทั้งร่วมกันขับเคลื่อนกลุ่ม
2.
ร่วมกันต่อยอดการดำเนินงาน
และวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินงาน
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
หลักการมีส่วนร่วม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อ - สกุล นางสาวกชพร สุทธพรม
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 08 7593 8484
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 08 7593 8484
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น