วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : มหกรรมสินค้า OTOP ของดีเมืองบรรพต กับการมีส่วนร่วมขององค์กรสตรี โดย ขวัญชนก แสวงดี

        สถานการณ์ปัญหา : อำเภอบรรพตพิสัย  จังหวัดนครสวรรค์  ได้รับจัดสรรงบประมาณ  โครงการพัฒนามาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ OTOP กิจกรรมการส่งเสริมช่องทางการตลาด ระดับโซน  โดย
การจัดงานมหกรรมสินค้า OTOP และของดีเมืองบรรพตสู่อาเซียน ซ๊อป ชม ชิม  เพื่อเป็นการส่งเสริมช่องทางการตลาด เป็นการสร้างรายได้และโอกาสในการแข่งขันในเขตพื้นที่  ภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันการทำแกงนอกหม้อ ขนมนวลแห้ว ส้มตำลีลา การถักเปล สินค้า OTOP มากกว่า 1,000 รายการ
     การดำเนินการภาพรวมของงาน  พัฒนาการอำเภอบรรพตพิสัย             นายไพโรจน์  อรรถอาภา ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น อช อบต. กลุ่ม OTOP และขาดไม่ได้คือองค์กรสตรีในพื้นที่ โดยมอบหมายหน้าที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จุดเน้นของงานคือนำของดีเมืองบรรพตมานำเสนอ เช่น ขนมนวลแห้วและแกงนอกหม้อ ที่มีต้นกำเนินมาจากอำเภอบรรพตพิสัย ให้กลุ่มสตรีร่วมแข่งขันอาหารดังกล่าว โดยมีงบประมาณจากอำเภอ ทางกลุ่มสตรีตำบลตาขีดได้ประสานข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรประจำตำบลไปชี้แจงทำความเข้าใจในพื้นที่เพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนอีกรอบหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณที่          ไม่เพียงพอกับกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
วิธีการ/กระบวนการ/เทคนิค/กลเม็ดเคล็ดลับ : ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ไปประชุมโดยนัดกลุ่มสตรี ได้ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน มีความเห็นจากสตรีบางส่วนที่มีข้อติดขัดในเรื่องงบประมาณที่ไม่เพียงพอต่อกิจกรรมที่ต้องทำ ข้าพเจ้าจึงได้ชี้แจงวัตถุประสงค์และจุดหมายที่แท้จริงของการจัดงานในครั้งนี้ที่เป็นหัวใจสำคัญคือ ต้องการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นและอาศัยองค์กรสตรีเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุผลสำเร็จต้องการนำเสนอความเข้มแข็งขององค์กรสตรีให้กับบุคคลภายนอกได้รับทราบ
ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ : จากการที่ได้ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ  ผลสะท้อนมาคือกลุ่มสตรีมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ มีความคิดมุมมองใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยการใช้เงินเป็นเพียงเครื่องมือในการขับเคลื่อนการทำงานมากกว่าจะยึดเป็นตัวตั้งของงานทั้งหมด กลุ่มสตรีตำบล        ตาขีดจึงมีการร่วมมือร่วมใจกันในการทำงานในครั้งนี้ มีการแบ่งงานกันทำกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบ และประสานงานของบประมาณจากแหล่งอื่นโดยไม่ได้พึงพาจากทางสำนักงานพัฒนาชุมชนเพียงแหล่งเดียว จากงบประมาณที่ได้รับหลักพันผลสัมฤทธิ์ที่สะท้อนกลับมาเกินความคาดหมาย ประเมินค่าเป็นหลักหมื่น จนกลุ่มสตรีตำบลตาขีดไม่พลาดรางวัลการแข่งขันกิจกรรมการแข่งขันตำส้มตำลีลา และขนมนวลแห้ว ในระดับอำเภอฯ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (ขุมความรู้/แก่นความรู้) :
     การทำงานต่าง ๆ กับบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ต่างคนก็ต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป เนื่องจากการับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่แตกต่างกัน และการสื่อสารที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากแหล่งต้นตอ นฐานะที่เราเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องมีความอดทน  และเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการประสานงานที่ดี ชี้แจงทำความเข้าใจให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง ชัดเจน เมื่อทุกคนรับทราบร่วมกัน หาข้อตกลงร่วมกันแล้ว  การขับเคลื่อนจะเป็นไปตามแนวทางที่วางไว้ตรงตามวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายที่กำหนด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ที่เกิดจากปัญหาในการทำงานร่วมกัน “ไม่มีปัญหา ไม่มีการพัฒนา” เงินไม่ใช่ทั้งหมดของงานแต่เป็นเพียงเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานเท่านั้น
แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง/บุคคลอ้างอิง :
1. กระบวนการมีส่วนร่วม ทฤษฎีการมีส่วนร่วม ของกรมการพัฒนาชุมชน เปิดโอกาสในความคิด การริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ และร่วมปฏิบัติ
2. หลักการประสานงาน ช่วยในการขับเคลื่อนงานให้มีประสิทธิภาพ
3. เทคนิคการพูดในที่ชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชน ที่สร้างบรรยากาศ ในการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ กระตุ้นความคิดในชุมชน
ชื่อ : นางขวัญชนก แสวงดี
ตำแหน่ง : นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบรรพตพิสัย       จังหวัดนครวรรค์
ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมอำเภอบรรพตพิสัย ตำบลท่างิ้ว หมู่ที่ 2 อำเภอบรรพตพิสัย   จังหวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น