วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : แก้ไขปัญหาความยากจนด้วยสัมมาอาชีวะ โดยนายธนโชติ จันทร์ดวง

ชื่อความรู้  แก้ไขปัญหาความยากจนด้วยสัมมาอาชีวะ
เจ้าของความรู้  นายธนโชติ  จันทร์ดวง
ตำแหน่ง/สังกัด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ ความยากจน
เรื่องเล่า
1.   ส่วนนำ
การสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานครัวเรือน หรือข้อมูล จปฐ. อำเภอหนองบัว ไม่มีครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือที่เรียกว่าครัวเรือนยากจน ซึ่งบ้านดง หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เป็น 1 ใน 107 หมู่บ้านที่ไม่มีครัวเรือนยากจนตามเกณฑ์ จปฐ. และได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของจังหวัดนครสวรรค์ แต่สภาพที่เป็นอยู่จริงยังมีครัวเรือนที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินทั้งในและนอกระบบ ซึ่งเป็นปัญหาเศรษฐกิจของครัวเรือน นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ

2.   ส่วนขยาย
ความพอประมาณ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งที่ความรู้สึกของครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงมีความรู้สึกว่า “พอประมาณอย่างมีเหตุผลแล้ว” ปัญหาความยากจน ยังไม่สามารถลดลงได้ ถึงแม้มีรายได้พ้นเกณฑ์ความยากจน เพราะจากการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีรายจ่ายที่เกิดความจำเป็น เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม การรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์และเกินความจำเป็นต่อร่างกายตามหลักโภชนาการ เป็นการเพิ่มรายจ่าย และปัญหาสุขภาพตามมา
ดังนั้น การนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนา คือมรรคมีองค์ 8 เพียงแค่ องค์ที่ 5 คือสัมมาอาชีวะ หรือสัมมาชีพ หมายถึงการดำรงชีพถูกต้อง ตามหลักธรรม ของฆราวาสสัมมาชีพ คือการเว้นมิจฉาชีพหรือาชีพที่ไม่ชอบ ได้แก่อาชีพที่เบียดเบียนผู้อื่น อาชีพที่เบียดเบียนตนเอง อาชีพที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อาชีพที่ไม่ใช้ความพยายาม ตลอดจนการดำรงชีพที่ฟุ่มเฟือย หรือที่ต้องจ่ายเกินความจำเป็น
เมื่อประชาชน ขีดเส้นความพอประมาณของตนเองสูงเกินไป จนส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย จึงต้องใช้หลักธรรมเข้ามาระงับความอยากของคน เช่นอยากกินไม่จำเป็นต้องระงับกิน อยากใช้ระงับใช้ อยากซื้อระงับซื้อหากสิ่งที่ต้องให้จ่ายเงินนั้นเกินความจำเป็น จากการจัดทำบัญชีครัวเรือน ปัจจัยที่สำคัญนากร และแกนนำหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นต้นแบบในการดำรงชีวิต ด้วยสัมมาอาชีวะ ซึ่งทำได้จริงเป็นวิถีชีวิต
3     ส่วนสรุป
การลดรายจ่าย ผลจากการที่ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกในการระงับความอยาก ในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสได้ จะเป็นการลดรายจ่ายอย่างเห็นได้ชัด
การเพิ่มรายได้ ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง ได้ใช้ความพยายามและความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอาชีพที่ลงแรงมากกว่าการลงทุนซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดการว่างงานแฝง ในครัวเรือน จะส่งผลให้รายได้ในครัวเรือนมากขึ้น
3.   ขุมความรู้
1.)    หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ยึดมั่นในมรรคมีองค์ 8 เพียงสัมมาอาชีวะสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้
2.)    เลือกครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงที่พร้อม ดำเนินชีวิตด้วยหลักธรรมเป็นแนวร่วมลำดับแรก
4.   แก่นความรู้
          สัมมาชีพ หรือ สัมมาอาชีวะ สามารถใช้กับครัวเรือนยากจน นำไปสู่ความหลุดพ้นความยากจนได้ “ทำให้เขาดู ดีกว่าพูดกรอกหู ให้เขาฟัง”
*************************************************************************************

ที่อยู่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โทร./ไลน์ 088 553 7273

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น