วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน โดยนางสาววิมลรัตน์ ศรีผง


ชื่อองค์ความรู้  การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ   การสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ
ปากท้องของประชาชนในระดับรากหญ้า
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ              ปีงบประมาณ ๒๕๕๙
สถานที่เกิดเหตุการณ์               อำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์
เนื้อเรื่อง
การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน จำนวน 23,589 หมู่บ้าน จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1)
ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป
กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ โดยมีแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง โดยการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คำว่า “สัมมาชีพชุมชน” หมายถึง “ชุมชนที่มีการประกอบอาชีพโดยชอบ ซึ่งมีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยลดการเบียดเบียนตนเองผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีของชุมชนเพื่อความมุ่งหมายในการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน”
วิธีการดำเนินงาน
          1. จัดทำทะเบียนปราชญ์ชุมชนเป้าหมายในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
          2. ดำเนินการร่วมกับหมู่บ้านในการคัดเลือกปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ 1 คน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน
          3. เตรียมความพร้อมทีมสัมมาชีพชุมชนสร้างความรู้ความเข้าใจ ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

4 .ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพโดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน
5. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดยแบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน
6. ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมและส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”
7. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับตลาด สร้างผลผลิตสร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบ OTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐ
8. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยือนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมาย
ที่ต้องการฝึกอาชีพ
          9. ดำเนินโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน
          10. ติดตามเยี่ยมเยียนครัวเรือนที่ฝึกอาชีพร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพหมู่บ้าน
          11. ประเมินผลและคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตัวอย่าง หมู่บ้านละ 1 คน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
          1. เป็นอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนอย่างแท้จริง
          2. การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทีมวิทยากรและครัวเรือนเป้าหมาย
          4. องค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชน
ปัญหา/อุปสรรค
          ไม่มี
ข้อเสนอแนะ
1.      ระยะเวลาในการฝึกอบรมใช้เวลานาน ควรใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมให้น้อยลง และมีความต่อเนื่องเน้นการปฏิบัติในพื้นที่จริง

2.      งบประมาณในการสนับสนุน(ต่อยอด) การสร้างสัมมาชีพชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน 

ชื่อ – สกุล                            นางสาววิมลรัตน์  ศรีผง 
ตำแหน่ง                             นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด                                 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะโก
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก     ๐๘๑ ๒๘๔๙๒๓๘

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น