วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยนางสายชล สุวรรณเชษฐ์

เรื่อง  การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงยงต้นแบบ
ชื่อ – นามสกุล            นางสายชล       สุวรรณเชษฐ์
ตำแหน่ง                   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด                        สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโกรกพระ  จังหวัดนครสวรรค์
ความเป็นมา
                การดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นการพัฒนาชุมชนด้วยการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงระบบคิดเพื่อเสริมสร้างวิถีชีวิตที่เหมาะสมเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้และการกำหนดระบบการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพใช้เกณฑ์      ชี้วัดและมีหลักฐานยืนยันการปฏิบัติให้เป็นที่ยอมรับ โดยการผ่านเกณฑ์การประเมินตามคำรับรองพิจารณาภายใต้เงื่อนไขในการคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านเนินศาลา   หมู่ที่ ๔  ตำบลเนินศาลา  อำเภอโกรกพระ   จังหวัดนครสวรรค์   เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

ขั้นตอนการขับเคลื่อนกิจกรรม
๑. ประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมครอบครัวพัฒนา จำนวน ๓๐ ครัวเรือน ด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาและทัศนศึกษาดูงานการดำรงชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
๒. ประชุมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนชีวิตของครัวเรือนตัวอย่าง ๓๐ ครัวเรือน
๓. ประชุมเชิงปฏิบัติการ/สาธิตกิจกรรมลดรายจ่าย ในการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่ พอกิน
๓.๑ สาธิตกิจกรรมลดรายจ่าย โดยทำขนม
๓.๒ สาธิตกิจกรรมการเลี้ยงปลาในวงบ่อซิเมนต์
๓.๓ สาธิตกิจกรรมการทำดอกไม้จันน
๔. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชนและการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และการสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน
๕. ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ วิธีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อติดตามและประเมินผลความสุขมวลรวมของชุมชนและการจัดการความรู้ 

ทักษะที่ต้องมี/ใช้
การเป็นวิทยากรกระบวนการ ความรู้เรื่องแนวทางการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในหมู่บ้านเนินศาลา มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์ สถานการณ์ ของชุมชน การมองปัญหาและการค้นหาปัญหาอย่าง รอบด้าน และทักษะในการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ในพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในการดำเนินการ การโน้มน้าวและการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาชุมชนของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยแนวทางและกระบวนการของนักจัดการความรู้การเล่าเรื่องราวจากอดีต ปัจจุบันและความคาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต
ผู้ที่เข้าร่วมการขับเคลื่อนดำเนินกิจกรรม
การดำเนินการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ พออยู่ พอกินบ้านเนินศาลา  หมู่ที่  ๔  ตำบลเนินศาลา  มีองค์กรต่างๆที่มีส่วนร่วม ประกอบด้วย
๑. องค์การบริหารสวนตำบลเนินศาลา    ๒. กศน.ตำบลเนินศาลา
เทคนิค
๑. การพัฒนาหมู่บ้าน โดยการขับเคลื่อนของคณะกรรมการหมู่บ้าน ครอบครัวตัวอย่าง และการประสานความร่วมมือของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน
๒. การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ หรือด้านวิชาการ การมีวิสัยทัศน์ในการทำงานของคณะกรรมการ
แก่นความรู้
๑. การประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการท้องที่ ,ท้องถิ่น ภาคเอกชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน
๒. การพัฒนาการเรียนรู้ในเรื่องเทคโนโลยี ตลอดจนเทคนิคใหม่ๆในการวิเคราะห์สถานการณ์ชุมชน
๓. การดำเนินวิถีชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการมีส่วนร่วม ช่วยเหลือ เอื้ออารีต่อกัน อยู่อย่างประชาธิปไตย
กลยุทธ์ในการทำงาน
การสร้างความเข้าใจ ทัศนคติ และความสัมพันธ์ที่ดีกับคณะกรรมการและสมาชิกในชุมชน
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนา การเป็นองค์กรภาคีร่วมกัน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
๑. ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่าย และ ชุมชน
๒. การพัฒนาการเรียนรู้ของคนในชุมชน
๓. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น