วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : เทคนิคการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน โดยนางอรัญญา คำไพเราะ

ชื่อความรู้        เทคนิคการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน
เจ้าของความรู้   นางอรัญญา  คำไพเราะ
ตำแหน่ง/สังกัด  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ   อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ   การขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน
เรื่องเล่า
          1 ส่วนนำ (เหตุการณ์ความเป็นมาอย่างไร)
การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาลใน 2560 มุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก คือ รายได้ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพที่เป็นที่มาของ สัมมาชีพชุมชนเป้าหมายคือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ปราชญ์ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เป็นความต้องการเพื่อเพิ่มรายได้ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้

2       ส่วนขยาย (กระบวน/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน)
ศึกษากระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน /แนวทางการดำเนินงานของกรมฯ ให้เข้าใจและนำไป
ปฏิบัติ ออกแบบการดำเนินงานและจัดทำแผนปฏิบัติการ  สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนในกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน และดำเนินการตามแนวทาง โดย
          1.คัดเลือกปราชญ์ชุมชนจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงฯ ของยุทธ์ศาสตร์ที่ 1 หมู่บ้านละ 1 คน เข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตร วิทยากรผู้นำสัมมาชีพณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดนครนายก
          2.สร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม หมู่บ้านละ 5 คน ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีให้กับครัวเรือนเป้าหมายได้ 
          3. ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านเป้าหมาย ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยขนวนการจากปราชญ์ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน ตามความต้องการในอาชีพที่สนใจ และมีความสมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพเพื่อประกอบอาชีพให้เกิดรายได้
          4. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครัวเรือนเป้าหมายมีการรวมกลุ่ม และจัดตั้งกลุ่มอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน และประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง และลงทะเบียน OTOP ต่อไป
  
3       ส่วนสรุป (ผลของการแก้ปัญหา/พัฒนา)
กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการอาชีพที่สนใจโดยการสอนจากประสบการจริงของทีมวิทยากรสัมมาชีพ สามารถสร้างงานสร้างอาชีพ และมีทีมวิทยากรสัมมาชีพเป็นที่ปรึกษาซึ่งสามารถติดต่อ สอบถามเมื่อเกิดปัญหาได้สะดวก รวดเร็วทันเวลา
4       ขุมความรู้(ประเด็นหลักที่วิเคราะห์ได้จากเนื้อหา)
แหล่งความรู้ที่สำคัญและจำเป็นของชุมชน คือปราชญ์ชาวบ้าน เป็นผู้ขุมความรู้ที่สำคัญ รู้จริงจากประสบการณ์ที่สะสมมานานจนเกิดความชำนาญ มีการถ่ายทอดตามแบบชาวบ้าน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และได้เห็นการดำเนินงานจริงจากชุมชน
5        แก่นความรู้(การวิเคราะห์จากขุมความรู้ กำหนดเป็นคำสั้นๆความสำคัญที่เป็นแก่นของความรู้)
ความรู้ที่หลากหลายอยู่ในชุมชนโดยปราชญ์ชาวบ้าน เราควรให้ความรู้ด้านการถ่ายทอดแก่ผู้มีความเหล่านี้เพื่อเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญในชุมชนต่อไป
          ที่อยู่/เบอร์โทร

          สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น